พาส่องหลักสูตร ARCHITECTURE สถาปัตอินเตอร์ จาก 4 มหาลัยชั้นนำ
หลักสูตร ARCHITECTURE สถาปัตอินเตอร์ 4 มหาลัยชั้นนำ
วันนี้จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักหลักสูตร Architecture สถาปัตอินเตอร์ จากหมาลัยชั้นนำ ทั้ง 4 ซึ่งหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ในแต่ละมหาวิทยาลัยที่รวบรวมมานั้นมีความแตกต่างกันอยู่ในแต่ละสาขา เช่น เนื้อหาการเรียนเป้าหมายการเรียนและการประกอบอาชีพไปดูกันเลย ว่าหลักสูตรไหนเหมาะสำหรับเรา
International Program in Design and Architecture (INDA)
การออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ
หลักสูตร : การออกแบบและสถาปัตยกรรม หลักสูตร 4 ปี สังกัดอยู่ใน Faculty of Architecture หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้นิสิตที่จะศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมถึงเป็นการสร้างองค์ความรู้ระดับอินเตอร์เพื่อเปิดโอกาสในการทำงานได้กว้างขึ้น นิสิตจะไม่ได้เรียนแค่การออกแบบสถาปัตยกรรม แต่ยังได้เรียนรู้โครงสร้าง, Landscape Architecture และ Urban Design โดยจะได้เรียนกับอาจารย์ต่างชาติมากมาย และหลักสูตรยังมีทริปและการเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ วุฒิการศึกษาที่ได้รับคือวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) Bachelor of Science in Architectural Design
Requirement :
• วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า
- Grade 12 ในระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา และ Year 13 ในระแบบการศึกษาของสหราชอาณาจักร
- GED 4 วิชา วิชาละ 145 คะแนน (2.00)
- IGCSE, GCSE หรือ GCE ‘O’ Level จำนวน 5 วิชา ≥ A*- C
และมีคะแนนดังต่อไปนี้ GCE ‘AS’ Level อย่างน้อย 3 วิชา เกรด A-C
หรือ GCE ‘A’ Level อย่างน้อย 3 วิชา ≥ A*-C
หรือ Cambridge Pre-U อย่างน้อย 3 วิชา ≥ M1 หรือ D1-D3 - IB ≥ 4 คะแนนจาก 5 วิชาและ 1 วิชาเลือก และจะต้องผ่านการประเมินผล Extended Essay (EE), Theory of Knowledge (TOK), and Creativity, Action & Service (CAS) ภายใต้เกณฑ์ของ International Baccalaureate Organization (IBO) หรือผู้สมัครมีผลการเรียนหลักสูตร IB Diploma (IBCR) ≥ 5 วิชาที่แตกต่างกันและไม่ต่ำกว่าเกรด 3 ในแต่ละวิชา
- คะแนนวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง :
TOEFL (iBT) ≥ 79
TOEFL (PBT) ≥ 550
SAT Reading & Writing ≥ 450
IELTS ≥ 6.0
CU-TEP & Speaking ≥ 80
CU-AAT Verbal Section ≥ 400 - คะแนนสอบวัดความรู้คณิตศาสตร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง :
SAT Math ≥ 490
CU-AAT Math ≥ 450
A-Level Mathematics ≥ B
IB Mathematics ≥ 5 - คะแนน Aptitude in Design
CU-TAD ≥ 50% - Portfolio
Urban Design and Development International Program (UDDI)
การออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง หลักสูตรนานาชาติ ธรรมศาสตร์
หลักสูตร : หลักสูตรการออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย เป็นหลักสูตรปริญญาตรีควบปริญญาโท (ตรี 3.5 ปี + โท 1.5 ปี รวม 5 ปี) โดยจะได้เรียนเชิงบูรณาการในการออกแบบสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเมือง เนื่องมาจากอัตราการขยายตัวของเมืองที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว UDDI จึงเป็นหลักสูตรที่ผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสำหรับการแก้ปัญหาของเมือง รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เมื่อนักศึกษามีทักษะและความคิดแบบบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาเมือง ก็จะมีโอกาสทางอาชีพตามมา เช่น นักวางผังเมือง, ผู้มีส่วนร่วมในการวางแผนและนโยบาย, ทำงานในองค์กรเอกชนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
Requirement :
• วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า
- GED รวม ≥ 660 คะแนน วิชาละ ≥ 165 คะแนน
GPAX ไม่น้อยกว่า 2.50 รวมถึงต้องมีผลสอบคู่กับ SAT โดยคะแนน MATH ≥ 450
Reading & Writing ≥ 350 คะแนน - IGCSE หรือ GCSE หรือ GCE ‘O’ Level สอบได้ไม่ต่ำกว่า 5 วิชาไม่ซ้ำกัน แต่ละวิชา ≥ C
และมีคะแนน GCE ‘AS’ สอบได้ไม่ต่ำกว่า 3 วิชา แต่ละวิชา ≥ C
หรือ GCE’A’ Level สอบได้ ต้องไม่ต่ำกว่า 3 วิชา
A-Level Mathematics ≥ C
** IGCSE หรือ GCSE Mathematics ≥ B - NZQA ต้องได้รับประกาศนียบัตรจาก NCEA จำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชา ≥ 80 หน่วยกิต
และต้องมีคะแนนคณิตศาสตร์ ≥ B
- คะแนนวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง :
IELTS ≥ 6
SAT Reading & Writing ≥ 350 *ยื่นคู่กับ GED
TU-GET ≥ 500
TOEFL (PBT) ≥ 500
TOEFL (CBT) ≥ 173
TOEFL (iBT) ≥ 61 - คะแนนสอบวัดความรู้คณิตศาสตร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง :
GSAT Math ≥ 450
SAT Math ≥ 450
IB Math ≥ 5
A-Level Mathematics ≥ B
NCEA ≥
NZQA ≥ Math B หรือ Achieved - Portfolio
สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT)
เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ 5 หลักสูตร เป็นหลักสูตรออกแบบ 2 และ สถาปัตยกรรมศาสตร์ 3 ได้แก่
- สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถาปัตยกรรม) : Bachelor of Architecture (Architecture) การเรียนการสอนในภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร (5 ปี) มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นนักคิดภายใต้แนวความคิดที่ใช้ความชำนาญในทักษะวิชาชีพ ภูมิหลัง เรื่องราวหลักการ ศิลปะและวิทยาศาสตร์ โดยสาขาวิชาจะเน้นการพัฒนาความสามารถของนักศึกษาให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานออกแบบ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยนำเอาวิธีการ คิดแก้ปัญหาทางด้านสถาปัตยกรรมมาวิเคราะห์ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างอาชีพ เช่น ออกแบบสถาปัตยกรรม อาคารที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ อาคารเพื่อใช้ประกอบกิจสาธารณะ, นักวิชาการในสถาบันการศึกษาทางด้านการออกแบบ เป็นต้น
- สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถาปัตยกรรมภายใน) : Bachelor of Architecture (Interior Architecture) การเรียนการสอนในภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร (5 ปี) เน้นในการสร้างทักษะทางความคิด และ กระบวนการในการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ (Creative Skills) ด้วยความรู้ ความเข้าใจในสุนทรียภาพ ประโยชน์ใช้สอย ความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมภายในกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม โดยวิธีการบูรณาการองค์ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ และการทำงานร่วมกันข้ามสาขาวิชา (Cross-disciplinary Collaboration) เข้าใจการออกแบบเพื่อพัฒนาที่มีการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ควบคู่ไปกับการทำความเข้าใจและประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม บนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างอาชีพ เช่น ออกแบบสถาปัตยกรรม อาคารที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ อาคารเพื่อใช้ประกอบกิจสาธารณะ นักวิชาการในสถาบันการศึกษาทางด้านการออกแบบ เป็นต้น
- ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ภูมิสถาปัตยกรรม) : Bachelor of Landscape Architecture (Landscape Architecture) การเรียนการสอนในภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร (5 ปี) การสร้างภูมิสถาปนิกพันธุ์ใหม่ที่มีโลกทัศน์ที่กว้าง มีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของโลก และบริบทโลกอย่างเป็นองค์รวม ครอบคลุมตั้งแต่เทคโนโลยี ระบบนิเวศน์ ภูมิสังคม และการเมือง จะเป็นนักคิดและนักปฎิบัติ สามารถนำองค์ความรู้และทักษะที่มีไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมและงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อมนุษย์ สังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความแตกต่างของบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ตัวอย่างอาชีพ เช่น ภูมิสถาปนิกที่ทำงานประจำหรือทำงานอิสระ, นักวิชาการในสถาบันการศึกษาทางด้านการออกแบบ เป็นต้น
Requirement :
• วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า
1.ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลายหรือเทียบเท่า
2. ผู้ที่มีคะแนนของปีการศึกษา 2019/2562 A-Level 3 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน ได้คะแนน A*-E หรือ Cambridge Pre-U 3 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน ได้คะแนน M1 หรือ D1-D3
3. ผู้ที่มีคะแนนของปีการศึกษา 2018/2561 IGCSE/GCSE/O-Level 5 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน ≥ C ต้องยื่นคู่กับคะแนนในข้อ 3.1 หรือ 3.2
3.1 GCE ‘AS’ 5 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน คะแนน ≥ C หรือ
3.2 GCE ‘A’ level 3 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน ได้คะแนน A*-E
4. IB Diploma
4.1 IB วิชาบังคับ 5 วิชา และ วิชาเลือก 1 วิชา โดยต้องมีวิชา Extended Essay (EE),
Theory of Knowledge (TOK), Creativity, Action & Service (CAS) คะแนน ≥ 24 หรือ
4.2 IBCR 5 วิชาที่เป็นวิชาบังคับและวิชาเลือก ได้คะแนน ≥3
5. GED 4 วิชา วิชาละ ≥145 เทียบเท่ากับทุกแผนการเรียน
6. ระบบการศึกษานิวซีแลนด์
6.1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป NCEA ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualifications Authority (NZQA) จำนวน ≥ 80 หน่วยกิต ประกอบด้วย
– วิชาใน level 2 หรือสูงกว่าจำนวน ≥ 60 หน่วยกิต และ
– วิชาใน level 1 หรือสูงกว่าจำนวน ≥ 20 หน่วยกิต
** นับรวม ESOL เป็นอีก 1 วิชาได้ด้วย
ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับประกาศนียบัตร NCEA level 2 ใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement)
หนังสือรับรองระดับ จำนวนวิชา และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชา จาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)
6.2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป NCEA ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualification Authority (NZQA) ใน level 2 หรือสูงกว่า อย่างน้อย 5 วิชา ไม่ซ้ำกัน นับจำนวนรวม ≥ 60 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาบังคับ 2 วิชา ได้แก่
– English (literacy) ใน level 2 หรือสูงกว่า ≥4 หน่วยกิต
– Mathematics (numeracy) ใน level 2 หรือสูงกว่า ≥ 4 หน่วยกิต
** ไม่นับรวมวิชา English for Speakers of other Languages (ESOL)
ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement) และหนังสือรับรองระดับ
จำนวนวิชาและจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชาจาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)
- คะแนนวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง :
IELTS ≥ 5
TOEFL ≥ 61
CU-TEP ≥ 61
RMIT Upper Intermediate
หากได้คะแนนภาษาอังกฤษดังนี้
IELTS 4.5
TOEFL (iBT) 53-60
RMIT Intermediate
ผู้สมัครจะต้องสอบความถนัดเฉพาะและสอบสัมภาษณ์
หากผ่านการคัดเลือกผู้สมัครจะต้องเรียนปรับพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษ
- Personal Statement และ Portfolio
Architectural Intelligence and Design Thinking Program (AI.DT)
สถาปัตยกรรมอัจฉริยะและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ หลักสูตรนานาชาติ KMITL
หลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความฉลาดทางสถาปัตยกรรมและการคิดเชิงออกแบบ (AI.DT) เรียน 4 ปี มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของกระบวนทัศน์การออกแบบ และการรวมความเชี่ยวชาญที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถของนักออกแบบไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ หลักสูตรยังมุ่งเน้นการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Productivity) และความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) โดยนักศึกษาจะได้ฝึกฝนทักษะผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ไปพร้อมองค์ความรู้สถาปัตยกรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพ ด้วยความรู้เและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ควบคู่ไปกับทักษะและความสามารถรอบด้านที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในโลกการทำงานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
สาขาทางเลือก: ประกอบด้วย 4 สาขาทางเลือก ได้แก่
1) สถาปัตยกรรมดิจิทัล (Digital Architecture)
2) การจัดการโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก (Construction and Facility Management)
3) สถาปัตยกรรมเขตร้อนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Tropical Design)
4) กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
Requirement :
• วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า
1.เป็นผู้จบการศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ
ระดับ Grade 12 ตามระบบการศึกษาแบบอเมริกัน หรือ
ระดับ Year 13 ตามระบบการศึกษาแบบอังกฤษ
แผนการเรียนวิทย์-คณิต หรือ ศิลป์-คำณวน
2. IGCSE หรือ GCSE หรือ GCE ‘O’ Level จำนวน 5 วิชา ได้คะแนนแต่ละรายวิชา
A*-C และต้องมีผลสอบเพิ่มเติมดังนี้
2.1 AS จำนวน ≥ 5 วิชา เกรด A-E หรือ
2.2 GCE ‘A’ Level จำนวน ≥ 3 วิชา เกรด A*-E
3. GED
มีผลการสอบ GED 4 วิชา วิชาละ ≥ 145 คะแนน
4. ระบบการศึกษนิวซีแลนด์
4.1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป
NCEA ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualifications Authority (NZQA)
จำนวน ≥ 80 หน่วยกิต ประกอบด้วย
– วิชาใน level 2 หรือสูงกว่าจำนวน ≥ 60 หน่วยกิต และ
– วิชาใน level 1 หรือสูงกว่าจำนวน ≥ 20 หน่วยกิต
** นับรวม ESOL เป็นอีก 1 วิชาได้ด้วย
ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับประกาศนียบัตร NCEA level 2 ใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement) หนังสือรับรองระดับ จำนวนวิชา และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชา จาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)
4.2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป
NCEA ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualification Authority (NZQA) ใน level 2 หรือสูงกว่า อย่างน้อย 5 วิชา ไม่ซ้ำกัน
นับจำนวนรวม ≥ 60 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาบังคับ 2 วิชา ได้แก่
– English (literacy) ใน level 2 หรือสูงกว่า ≥4 หน่วยกิต
– Mathematics (numeracy) ใน level 2 หรือสูงกว่า ≥ 4 หน่วยกิต
** ไม่นับรวมวิชา English for Speakers of other Languages (ESOL)
ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement) และหนังสือรับรองระดับ
จำนวนวิชาและจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชาจาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)
5. IB ผู้สมัครจะต้องได้รับประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียน (High School Diploma) และ/หรือได้รับ IB Diploma และ/หรือ IB DP Course Results ดังนี้
5.1 ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จะต้องได้รับ IB Diploma กล่าวคือเป็นผู้มีผลคะแนนรวมจาก 5 หมวดวิชา และอีก 1 วิชาเลือก ไม่ต่ำกว่า 24 คะแนน พร้อมกับผ่านการประเมิน Extended Essay (EE), Theory of Knowledge (TOK) และ Creativity, Action & Service (CAS) ตามเกณฑ์ ของ International Baccalaureate Organisation (IBO) ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ยกเว้นการเรียนบางวิชาในปี 1 ที่ผู้สมัครเรียนผ่านมาแล้ว ตามหลักสูตร IB Diploma ในระดับ Higher level ที่ได้คะแนนสูงกว่า 4-5 ขึ้นไป เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา หรือ
5.2 ได้รับ IB Diploma Course Results (IBCR) อย่างน้อย 5 วิชา โดยแต่ละวิชาจะต้องไม่ซ้ำกัน และได้ผลการเรียนในแต่ละวิชา ไม่น้อยกว่าเกรด 2 (เทียบเท่ากับ 60 เปอร์เซนต์ หรือ GPA รายวิชา 2 ขึ้นไป) ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาลดจำนวนวิชาเพื่อรับผู้สำเร็จการศึกษาให้เหลืออย่างน้อย 3-4 วิชา ที่ตรงกับสายวิชาที่ผู้สมัครจะสมัครเข้ารับการศึกษา เช่นเดียวกับในต่างประเทศ
- คะแนนวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง :
TOEFL PBT ≥ 550 CBT ≥ 213 IBT ≥ 79
IELTS ≥ 6.0
Cambridge English Exams FCE or CAE or CPE ≥ 170
IB – English A1 or A2 4 IB – English B (HL) ≥ 5
CU-TEP ≥ 80
SAT (Evidence-based reading and writing) ≥ 450 - คะแนนวัดความรู้คณิตศาสตร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง :
CU-AAT (Math) ≥ 550
SAT (Math) ≥ 570
* หรือการทดสอบวัดระดับอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับมาตรฐานเป็นสากล - Personal Statement, Two Recommendation Letters และ Portfolio
Integrated Design in Emerging Architecture (IDEA)
การออกแบบเชิงบูรณาการสถาปัตยกรรมแนวใหม่ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเชิงบูรณาการสถาปัตยกรรมแนวใหม่ หลักสูตร 4 ปี ที่เปิดสอนโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลักสูตรมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้พัฒนาความคิดอย่างสร้างสรรค์ สามารถออกแบบได้อย่างอิสระโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการออกแบบ และเทคโนโลยี, นวัตกรรมดิจิทัลต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแวดวงสถาปัตกรรมทั้งของไทยและต่างประเทศ หลักสูตรยังมุ่งเน้นการออกแบบเชิงทดลอง (Experimental Design) เพื่อรวบรวมความรู้ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมจากแนวทางสหวิทยาการ ซึ่งรวมไปถึง Social, Physical, Life Sciences และอื่นๆ เพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงซึ่งสามารถตอบสนองความท้าทายด้านการออกแบบในศตวรรษที่ 21 โอกาสทางอาชีพ นอกจากการศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้นในต่างประเทศ ได้แก่ สถาปนิก, Interior Design, ออกแบบผังเมือง, 3D Visualizer, Product Design, Fashion Design, Games Design เป็นต้น
Requirement :
•วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า
1.เป็นผู้จบการศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ
ระดับ Grade 12 ตามระบบการศึกษาแบบอเมริกัน หรือ
ระดับ Year 13 ตามระบบการศึกษาแบบอังกฤษ
แผนการเรียนวิทย์-คณิต หรือ ศิลป์-คำณวน
2. IGCSE หรือ GCSE หรือ GCE ‘O’ Level จำนวน 5 วิชา ได้คะแนนแต่ละรายวิชา
A*-C และต้องมีผลสอบเพิ่มเติมดังนี้
2.1 AS จำนวน ≥ 5 วิชา เกรด A-E หรือ
2.2 GCE ‘A’ Level จำนวน ≥ 3 วิชา เกรด A*-E
3. GED
มีผลการสอบ GED 4 วิชา วิชาละ ≥ 145 คะแนน
4. ระบบการศึกษนิวซีแลนด์
4.1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป
NCEA ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualifications Authority (NZQA)
จำนวน ≥ 80 หน่วยกิต ประกอบด้วย
– วิชาใน level 2 หรือสูงกว่าจำนวน ≥ 60 หน่วยกิต และ
– วิชาใน level 1 หรือสูงกว่าจำนวน ≥ 20 หน่วยกิต
** นับรวม ESOL เป็นอีก 1 วิชาได้ด้วย
ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับประกาศนียบัตร NCEA level 2 ใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement) หนังสือรับรองระดับ จำนวนวิชา และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชา จาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)
4.2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป
NCEA ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualification Authority (NZQA) ใน level 2 หรือสูงกว่าอย่างน้อย 5 วิชา ไม่ซ้ำกัน
นับจำนวนรวม ≥ 60 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาบังคับ 2 วิชา ได้แก่
– English (literacy) ใน level 2 หรือสูงกว่า ≥4 หน่วยกิต
– Mathematics (numeracy) ใน level 2 หรือสูงกว่า ≥ 4 หน่วยกิต
** ไม่นับรวมวิชา English for Speakers of other Languages (ESOL)
ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement) และหนังสือรับรองระดับ
จำนวนวิชาและจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชาจาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)
5. IB ผู้สมัครจะต้องได้รับประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียน (High School Diploma) และ/หรือได้รับ IB Diploma และ/หรือ IB DP Course Results ดังนี้
5.1 ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จะต้องได้รับ IB Diploma กล่าวคือเป็นผู้มีผลคะแนนรวมจาก 5 หมวดวิชา และอีก 1 วิชาเลือก ไม่ต่ำกว่า 24 คะแนน พร้อมกับผ่านการประเมิน Extended Essay (EE), Theory of Knowledge (TOK) และ Creativity, Action & Service (CAS) ตามเกณฑ์ ของ International Baccalaureate Organisation (IBO) ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ยกเว้นการเรียนบางวิชาในปี 1 ที่ผู้สมัครเรียนผ่านมาแล้ว ตามหลักสูตร IB Diploma ในระดับ Higher level ที่ได้คะแนนสูงกว่า 4-5 ขึ้นไป เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา หรือ
5.2 ได้รับ IB Diploma Course Results (IBCR) อย่างน้อย 5 วิชา โดยแต่ละวิชาจะต้องไม่ซ้ำกัน และได้ผลการเรียนในแต่ละวิชา ไม่น้อยกว่าเกรด 2 (เทียบเท่ากับ 60 เปอร์เซนต์ หรือ GPA รายวิชา 2 ขึ้นไป) ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาลดจำนวนวิชาเพื่อรับผู้สำเร็จการศึกษาให้เหลืออย่างน้อย 3-4 วิชา ที่ตรงกับสายวิชาที่ผู้สมัครจะสมัครเข้ารับการศึกษา เช่นเดียวกับในต่างประเทศ
- คะแนนวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง :
IELTS ≥ 5.0
TOEFL PBT ≥ 500 CBT ≥ 173 IBT ≥ 61
TOEIC ≥ 600
หรือ CMU-English placement test
- คะแนนวัดทักษะอื่นๆ : Physics and Mathematics เช่น SAT Subject Tests, IGCSE
- Personal Statement, Recommendation Letters และ Portfolio