ทำความรู้จัก CU-TEP & TU-GET
สำหรับน้องๆ ที่มีความฝันอยากเข้ามหาวิทยาลัยอย่าง จุฬาฯ และธรรมศาสตร์ หลายๆ คนอาจจะจะมีคำถามว่า CU-TEP และ TU-GET นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ Up Grade Class จะพาไปดูความแตกต่างจากทั้ง 2 สถาบันนี้ และหาคำตอบไปพร้อมกันว่าน้องๆ ควรเลือกสอบตัวไหนดี
CU-TEP ย่อมาจาก Chulalongkorn University Test of English Proficiency คือ ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่ออกโดย สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้านภาษาอังกฤษ
- ผลคะแนน CU-TEP จะมีอายุ 2 ปี
- ผลคะแนนของ CU-TEP โดยส่วนใหญ่จะใช้ยื่นศึกษาต่อในแทบทุกคณะอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้ง แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี อักษรศาตร์ และจิตวิทยา เป็นต้น
- นอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่รับรองผลคะแนนสอบ CU-TEP ในการยื่นสมัครศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เช่น แพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น แพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รวมไปถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์อินเตอร์ของ ม.ธรรมศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งแต่ละคณะเหล่านี้ ก็จะใช้ระดับคะแนนที่แตกต่างกัน
- รวมถึงคะแนน CU-TEP ยังสามารถนำไปใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อีกด้วย
TU-GET ย่อมาจาก Thammasat University General English Test คือ ข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- TU-GET สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการยื่นเข้าสมัครในภาคอินเตอร์ในหลายๆ คณะของธรรมศาสตร์ได้ครับ และเรียนต่อปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ได้เช่นกัน
- โดยใช้เข้าคณะอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาทิเช่น วิศวกรรมศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ หรือวารสารศาสตร์ เป็นต้น
- อายุคะแนนของ TU-GET คือ 2 ปี เช่นเดียวกับ CU-TEP
- สำหรับเกณฑ์การยื่นคะแนนของแต่ละคณะและแต่ละมหาวิทยาลัย ก็จะแตกต่างกันไปตามประกาศของคณะนั้นๆ
- CU-TEP สำหรับข้อสอบนี้จะมีคำถามทั้งหมด 120 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
- Listening Part มีทั้งหมด 30 ข้อ 30 นาที แบ่งออกได้อีก 3 ส่วนคือ บทสนทนาระหว่างคน 2 คน 15 ข้อ, บทสนทนาการพูดโต้ตอบกัน 3 บท บทละ3 ข้อ, บทการพูดคนเดียว 2 บท บทละ 3ข้อ
- Remark: สำหรับ Part นี้จะได้ยินบทสนทนากันเพียงครั้งเดียว และ คำถามเพียงครั้งเดียวเช่นกัน เมื่อคำถามจบลงผู้สอบจะต้องตอบคำถามจากตัวเลือกทั้ง 4 ข้อที่ได้ยินไป
- Reading Part มีทั้งหมด 60 ข้อ 70 นาที แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ Cloze reading เป็นบทความที่มีการเว้นช่อว่าง 15 ช่อง 15 ข้อ 15 คะแนน ผู้สอบต้องเลือกตอบให้ถูกตามเนื้อหาและไวยากรณ์, บทความสั้น บทความ 1 ย่อหน้ามักจะเป็นในรูปแบบจดหมาย ตอบแบบปรนัย 5 ข้อ, บทความยาว บทความประมาณ 1 หน้า A4 มี 4 บทความทั้งหมด 40 ข้อ
- Remark: ด้วยจำนวน 60 ข้อ 70 นาที ทำให้มีเวลาในการทำแต่ละข้อน้อยจึงต้องฝึกการบริหารเวลาในการทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
- Writing Part มีทั้งหมด 30 ข้อ 30 นาที เป็นข้อสอบ Error Identification ที่วัดทักษะด้านไวยากรณ์ของผู้สอบ โดยให้เราสังเกตว่าส่วนใดของประโยคมีการใช้ หลักไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ซึ่งเราต้องมีความรู้เรื่อง grammar* และด้านโครงสร้างประโยค (sentence structure) เป็นอย่างดี เป็นแบบปรนัยเลือกจากตัวเลือก 1 2 3 4 เช่นกัน
- Speaking (optional) ทั้งหมด 3 ข้อ มีเวลา 10-15 นาที พาร์ทการพูด จะเป็นการเลือกสอบแยกโดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ในห้องสอบจะได้ดูภาพและดูวีดีโอเพื่อตอบคำถาม
- Listening Part มีทั้งหมด 30 ข้อ 30 นาที แบ่งออกได้อีก 3 ส่วนคือ บทสนทนาระหว่างคน 2 คน 15 ข้อ, บทสนทนาการพูดโต้ตอบกัน 3 บท บทละ3 ข้อ, บทการพูดคนเดียว 2 บท บทละ 3ข้อ
- TU-GET สำหรับข้อสอบนี้จะมีคำถามทั้งหมด 100 ข้อ แบ่งออกได้ 3 ส่วน
- Grammar and Structure Part ข้อสอบพาร์ทนี้จะวัดความรู้เรื่องไวยากรณ์มี 25 ข้อแบบได้อีก 2 ส่วนคือ Error identification เป็นการหาจุดผิดจากประโยค จะมีความคล้ายคลึงกับข้อสอบ writing ของ CU-TEP, Sentence completion เป็นการเติมคำตอบในช่องว่างที่วัดความรู้ทางไวยากรณ์ แล้วเลือกเติมประโยคให้สมบูรณ์
- Vocabulary Part เป็นพาร์ทวัดความรู้ทางด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 25 ข้อ แบ่งได้อีก 2 ส่วนคือ Fill in the blanks เป็นประโยคมาให้ทีละข้อ และให้เลือกคำศัพท์ที่ถูกต้องทั้งถูกความหมายและถูกบริบทไปเติม ตัวเลือกเป็นปรนัยแบบ 4 ตัวเลือก ความยากของพาร์ทนี้คือ ตัวเลือกที่โจทย์ให้มาจะมีความใกล้เคียงกันมาก อาจจะทำให้ลังเลน้องๆ ต้องเลือกใช้คำให้ถูกบริบทด้วย, Synonyms พารทนี้จะเป็นการวัดคำศัพท์จากโจทย์ที่กำหนดมาหรือไม่ต้องเลือกคำตอบที่ใกล้เคียงมากที่สุด
- Reading comprehension มีทั้งหมด 50 ข้อ จาก 6 passage และความยาวจะแตกต่างกันในแต่ละ passage ส่วนเรื่องที่ออกมาอาจจะมีหลายเรื่อง และคำถามในพาร์ทนี้จะมีความคล้ายกัน CU-TEP ทั้งการถาม title, main idea, reference, vocabulary รวมถึงการถามแบบลงรายละเอียด
- TU-GET Paper – based (CBT) มีทั้งหมด 4 พาร์ท พาร์ทละ 30 คะแนนรวมทั้งหมด 120 คะแนนได้แก่ Listening, Reading, Writing, Speaking
สำหรับการค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ CU-TEP ที่ครอบคลุมทักษะ Listening, Reading, และ Writing มีราคาทั้งสิ้น 900 บาท แต่หากผู้สมัครสอบจำเป็นต้องใช้คะแนน CU-TEP Speaking เพื่อนำไปยื่นเข้าบางคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่น BBA, EBA, JIPP, แพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ราคา 2,900 บาท
การสมัครสอบของ CU-TEP ผู้สมัครสอบ สามารถสมัครออนไลน์ได้ผ่านเว็บไซต์ข้างต้น ในหัวข้อ “ระบบลงทะเบียนออนไลน์” เมื่อข้อมูลที่กรอกได้รับการยืนยันแล้ว ผู้สมัครสอบสามารถชำระเงินการสอบ โดยมีวิธีดังนี้
ชำระเงินผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารทหารไทย โดยพิมพ์ใบชำระเงินจากระบบการสมัคร และนำใบชำระเงินไปยื่นกับทางเคาน์เตอร์ธนาคาร เพื่อทำการชำระเงิน (สามารถชำระเงินได้ภายในเวลาทำการ ของธนาคารภายในวันสุดท้ายของการสมัครสอบ) หรือ ชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
ชำระเงินผ่าน ATM โดยชำระผ่านตู้ ATM โดยเลือกเมนูชำระสินค้าและบริการ ทำการใส่ Ref 1 และ Ref 2 ตามที่ระบุไว้ในใบชำระเงินที่พิมพ์ออกมาจากระบบ (สามารถชำระเงินภายในเวลาเทื่องคืน ของวันสุดท้ายของการสมัครสอบ ถ้าหากชำระเงินเกินตามเวลาที่กำหนด ทางระบบจะปรับยอดเป็นวันถัดไป ซึ่งถือว่าเกินตามระยะเวลาการชำระเงิน จะถือว่าผู้สมัครได้ชำระเงิน เกินกำหนดระยะเวลาการสมัครสอบ) สามารถพิมพ์ใบชำระเงินได้ภายในเวลา 17.00 น.ของวันสุดท้ายของการสมัคร
* ผู้สมัครสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินของตนเองได้ ภายใน 3 วันทำการ หลังจากทำการชำระเงิน
** หากผู้สมัครไม่ได้ชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถชำระเงินย้อนหลังได้ และต้องรอสมัครใหม่ในรอบต่อไป
ส่วนค่าธรรมเนียมการสมัคสอบ TU-GET โดยปกติอยู่ที่ราคา 500 บาท แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่สมัครสอบด้วย กล่าวคือ หากน้องทำการสมัครสอบวันที่ 1-15 ของทุกเดือน ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ 500 บาท
ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบทางออนไลน์ และพิมพ์ใบแจ้งการชำระเงินและนำไปชำระเงินได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย ทุกสาขา แต่หากน้องสมัครวันที่ 16 จนถึงวันสอบ ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ 700 บาท และผู้สมัครสอบต้องจ่ายค่าสมัครสอบด้วยตนเอง ที่ห้อง TU-GET ชั้น 1 อาคารสถาบันภาษา มธ. ท่าพระจันทร์
ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบเลขประจำตัวสอบ สถานที่ วันและเวลาสอบได้ทางเว็บไซต์ ก่อนสอบ 1 สัปดาห์
น้องๆสามารถสมัครสอบทั้ง CU-TEP และ TU-GET ได้ตามลิงค์ที่แชร์ด้านล่างนี้ได้เลย
1. ลิงค์การสมัครสอบ CU-TEP
http://register.atc.chula.ac.th/ChulaATC/index.php?mod=welcome&op=&lang=th
2. ลิงค์การสมัครสอบ TU-GET
http://litu.tu.ac.th/TUGET/Login.aspx
CU-TEP และ TU-GET เปิดรอบสอบทุกเดือนเหมือนกัน แต่ CU-TEP จะจัดสอบเดือนละ 1-2 ครั้ง และจะเปิดรอบสอบ CU-TEP Speaking เดือนละ 1ครั้งเท่านั้น ส่วน TU-GET จะเปิดสอบเดือนละ 1 ครั้ง
สำหรับการรับผลสอบ CU-TEP ผู้สอบจะรู้ผลสอบประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากการสอบผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ ส่วนผลการสอบ TU-GET ผู้เข้าสอบสามารถตรวจสอบคะแนนได้ทางเว็บไซต์ หลังจากวันสอบ 1 สัปดาห์ โดยที่สถาบันภาษาจะส่งคะแนนอย่างเป็นทางการให้ผู้สมัครสอบ ภายหลังการสอบ 2 สัปดาห์
สำหรับสถานที่สอบของ CU-TEP และ TU-GET ผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบสถานที่, วัน, และเวลาการสอบได้จากเว็บไซต์ทางการข้างต้น โดยสถานที่สอบของ CU-TEP จะมีความหลากหลายกว่าเพื่อความสะดวกของผู้สมัครสอบในแต่ละภูมิภาค สนามสอบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของ CU-TEP คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเอง ส่วนสนามสอบของ TU-GET จะเป็นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แต่บางครั้งก็มีการจัดรอบพิเศษตามศูนย์สอบโรงเรียนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
น้องๆ คงได้เห็นถึงข้อมูลที่ชัดมากขึ้นแล้วระหว่างความเหมือนหรือต่างกันของข้อสอบ CU-TEP และ TU-GET จะเห็นเลยว่า ทั้ง CU-TEP และ TU-GET มีความคล้ายคลึงในเนื้อหาที่สอบอย่างมากโดยเฉพาะด้านการอ่าน, คำศัพท์, และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ หรือ Grammar สำหรับน้องๆ ที่ต้องการเตรียมความพร้อมก่อนสอบไม่ว่าจะเป็น CU-TEP หรือ TU-GET ทาง Up Grade Class และทีมครูผู้เชี่ยวชาญของเรา พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งให้น้องๆ ก้าวถึงฝันนะคะ